Archive | ข้อมูลพรรณไม้ RSS for this section

ข้อมูล ขามคัวะ

รูปที่1

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pterospermum semisagittatum   Buch.-Ham.ex Roxb.

ชื่อวงศ์ : STERCULIACEAE

ชื่ออื่นๆ : หำฮอก หำคัวะ กะหนาน ขนาน

ลักษณะ : ไม้ต้น ผลัดใบ สูง 8-15 เมตร ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 2-6 ซม. ยาว 6-20 ซม. โคนใบเว้าและเบี้ยว ดอก สีขาว ขนาดใหญ่ ออกเดี่ยวๆ ที่ปลายกิ่งหรือใกล้ปลายกิ่ง ใบประดับ 3-5 กลีบ เป็นเส้นแตกแขนงสีเขียว กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปขอบขนาน ยาว 4-6 ซม. กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่กลับ กว้าง 1-3 ซม. ยาว 4-7 ซม. ผล แห้งแตก รูปขอบขนาน กว้าง 3-5 ซม. ยาว 5-8 ซม. แข็งเหมือนเนื้อไม้ผิวมีขนสีน้ำตาลปกคลุมหนาแน่น คล้ายกำมะหยี่

การกระจายพันธุ์ : พบตามป่าเบญจพรรณ ที่ความสูงไม่เกิน 700 เมตร ออกดอกเดือน พ.ค.ผลแก่เดือน พ.ย.

ประโยชน์ : เนื้อไม้ ใช้ทำเชื้อเพลิง

ข้อมูลจาก : ไม้ต้นในสวน Tree in the Garden

ข้อมูล กฤษณา

รูปที่2

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aquilaria crassna   Pierre ex Lecomte

ชื่อวงศ์ : THYMELAEACEAE

ชื่ออื่นๆ : ไม้หอม, Eagle wood

ลักษณะ : ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง ๒๕ – ๔๐ เมตร เปลือกเรียบสีเทา ตามยอดมีขนสีขาว ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับ รูปรีหรือรูปไข่ ปลายเรียวแหลม โคนใบสอบมน ขอบใบเรียบ มักมีขนตามขอบใบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน ด้านล่างสีจางกว่า ดอก ออกเป็นช่อสั้นๆ ที่ปลายยอดและซอกใบ สีเขียวอ่อน กลีบดอก ๕ กลีบ ผลรูปไข่

การกระจายพันธุ์ : พบในประเทศลาว กัมพูชา และเวียดนาม ในประเทศไทยพบทางภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ตามเชิงเขาและไหล่เขาในป่าดิบแล้ง ที่ระดับความสูง ๑๕๐ – ๘๐๐ เมตร

ประโยชน์ : ไม้กฤษณาเผาไฟให้กลิ่นหอม ในยุโรปนิยมนำมาปรุงเป็นน้ำหอม ผงไม้หอมใช้โรยบนเสื้อผ้าหรือบนร่างกายเพื่อฆ่าหมัดและเหา ยาพื้นบ้านของอินเดียและอีกหลายประเทศในทวีปเอเชียใช้เป็นส่วนผสมในยาหอม ยาบำรุง ยากระตุ้นหัวใจ และยาขับลม ในแหลมมลายูใช้ไม้หอมเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางและใช้บำบัดโรคผิวหนัง เปลือกต้นให้เส้นใยใช้ทำเชือก ถุง ย่าม และกระดาษ

 

ข้อมูล มะม่วง

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Mangifera indica  L.
วงศ์ : Anacardiaceae
ชื่อสามัญ : Mango
ชื่ออื่น : ทั่วไป เรียก มะม่วงบ้าน, มะม่วงสวน กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี เรียก ขุ ,โคก จันทบุรี เรียก เจาะ ช๊อก ช้อก นครราชสีมา เรียก โตร้ก  มลายู-ภาคใต้ เรียก เปา ละว้า-เชียงใหม่ เรียก แป กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน เรียก สะเคาะ, ส่าเคาะส่า เขมร เรียก สะวาย เงี้ยว-ภาคเหนือ เรียก หมักโม่ง  จีน เรียก มั่งก้วย
ลักษณะ: มะม่วงเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 10–30 เมตร ใบ ใบเดี่ยวสีเขียว ขอบใบเรียบ ฐานใบมน ปลายใบแหลม ดอก เป็นช่อ กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรสีแดงเรื่อๆ ดอกออกช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ช่วงฤดูร้อนจะติดผล ผล ยาวประมาณ 5–20 ซม. กว้าง 4–8 ซม. ลูกดิบสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือเหลืองส้ม มีเมล็ดภายใน 1 เมล็ด
ประโยชน์ : 
ผลสดแก่ รับประทานแก้คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียน กระหายน้ำ  ผลสุก หลังรับประทานแล้วล้างเมล็ดตากแห้ง ต้มเอาน้ำดื่ม หรือบดเป็นผง รับประทานแก้ท้องอืดแน่น ขับพยาธิ  ใบสด 15–30 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม แก้ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ท้องอืดแน่น เอาน้ำต้มล้างบาดแผลภายนอกได้  เปลือกต้น ต้มเอาน้ำดื่ม แก้ไข้ตัวร้อน  เปลือกผลดิบ คั่วรับประทานร่วมกับน้ำตาล แก้อาการปวดเมื่อยเมื่อมีประจำเดือน แก้ปวดประจำเดือน